โรคหัวใจ (Heart Disease) หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ. 2555-2558 อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 58,681 คน หรือโดยเฉลี่ยถึงชั่วโมงละ 7 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สามารถป้องกันได้ เช่น การสูบหรือสูดดมควันบุหรี่ การรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารไขมันสูง อาหารหวาน และอาหารเค็มที่ควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ยังควรควบคุมน้ำหนัก รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพวัดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
อาการของโรคหัวใจ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด
- โรคหลอดเลือดหัวใจ มักส่งผลให้มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ ท้อง หรือบริเวณหลัง และบางครั้งอาจมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเต้นเร็วผิดปกติ ช้าผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกใจสั่น แต่บางครั้งอาจแสดงอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมได้เช่นกัน
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม และมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่รุนแรงมากขึ้นจะทำให้มีอาการเหนื่อยแม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ มีอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยอาจแสดงอาการทันทีเมื่อแรกคลอด หรือแสดงอาการมากขึ้นในภายหลังก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มที่มีอาการเขียวและกลุ่มไม่มีอาการเขียว ในกลุ่มที่มีอาการยังไม่รุนแรงมากอาจสังเกตได้ในภายหลัง เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน แต่ในกลุ่มที่มีอาการมากจะทำให้เลี้ยงไม่โต ทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นมหรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ เป็นต้น
- โรคลิ้นหัวใจ อาการของโรคขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้น ในกลุ่มที่มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจได้ยินเสียงผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้น แต่หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ อาการที่แสดงถึงโรคนี้ ได้แก่ มีไข้ โดยมักจะเป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
สาเหตุของโรคหัวใจ
เช่นเดียวกันกับอาการ สาเหตุของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีที่มาต่างกัน ดังนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนมากเกิดจากไขมันหรือแคลเซียมที่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลอดเลือดจนขัดขวางทางเดินเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง น้ำหนักเกิน และสูบบุหรี่
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายที่เดิมมีความผิดปกติของหัวใจอยู่แล้วหรือเกิดกับคนทั่วไปที่มีหัวใจปกติก็ได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการถูกไฟฟ้าช็อต การใช้สารเสพติด ยา อาหารเสริมบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน นอกจากนี้อาจเป็นความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ มีสาเหตุต่างกันไปตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจน้อยลง การได้รับยาหรือสารพิษบางชนิด การติดเชื้อ และพันธุกรรม ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนามักเป็นผลจากพันธุกรรมและอายุที่มากขึ้น และโรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด ที่กล้ามเนื้อหัวใจแข็งและยืดหยุ่นน้อยลง อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ ภาวะธาตุเหล็กมากเกิน หรือการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด เป็นต้น
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของมารดาที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด การใช้ยาหรือสารเสพติดบางชนิดขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ได้
- โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติหรือทำงานบกพร่องมาแต่กำเนิด หรือเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น ไข้รูมาติก เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต รวมทั้งการทำหัตถการทางการแพทย์ การใช้สารเสพติด และมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหัวใจตามมา
การวินิจฉัยโรคหัวใจ
แพทย์มักเริ่มด้วยการตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมถึงบุคคลในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นโรคหัวใจ จากนั้นจึงพิจารณาความเป็นไปได้แล้วเลือกวิธีวินิจฉัยขั้นต่อไป ซึ่งอาจเป็นการตรวจเลือด เอกซเรย์หน้าอก ตรวจหัวใจด้วยเครื่อง CT Scan หรือ MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจบันทึกการทำงานของหัวใจ หรือตรวจด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การทำหัตถการสวนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด และเพิ่มการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยแนะนำให้ลดอาการเค็ม อาหารหวาน และอาหารที่มีไขมันสูง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ
โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด คือ หัวใจล้มเหลว เกิดขึ้นได้จากโรคหัวใจทุกชนิด ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจขึ้นอยู่กับโรคหัวใจที่ผู้ป่วยเป็นด้วย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ส่วนกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจอาจตามมาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ และโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้
การป้องกันโรคหัวใจ
การป้องกันโรคหัวใจด้วยตนเองทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจร่างกายเพื่อควบคุมระดับความดันและไขมันในเลือดเป็นประจำ การรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ควรเน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อย หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หยุดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ความเศร้าและความเครียดก็อาจเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้ จึงควรพยายามผ่อนคลายให้มาก รวมทั้งรักษาสุขอนามัยให้ถูกต้องอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตราบ้านหมอละออง
สำหรับดูแลผู้เป็นโรคหัวใจ ใจสั่น บำรุงหัวใจ ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงขึ้นจากสูตรสมุนไพรเฉพาะของบ้านหมอละออง มีสมุนไพรใช้สำหรับรับประทาน อุดมไปด้วยสรรพคุณจากสมุนไพร อาทิ ลูกจันทน์, ดอกจันทน์, ลูกกระวาน, กานพลู, จันทน์แดง, จันทน์ขาว, กฤษณา, กระลำพัก, ขอนดอก, ชะลูด, อบเชยเทศ, เปราะหอม, แฝกหอม, เกสรทั้ง 5, โกฐทั้ง 9, เทียนทั้ง 5 และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อดูแลบำบัดอาการของคุณ ที่มีปัญหา ใช้ต่อเนื่องได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ
สรรพคุณ: สมุนไพรบำรุงหัวใจ เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาโรคหัวใจ บำรุงหัวใจ แก้ใจสั่น วิงเวียน เป็นลม แก้อ่อนเพลีย ทำให้เลือดลดเดินสะดวก
วิธีใช้: เมื่อมีอาการ ครั้งละ 2 แคปซูล
สมุนไพร: ลูกจันทน์, ดอกจันทน์, ลูกกระวาน, กานพลู, จันทน์แดง, จันทน์ขาว, กฤษณา, กระลำพัก, ขอนดอก, ชะลูด, อบเชยเทศ, เปราะหอม, แฝกหอม, เกสรทั้ง 5, โกฐทั้ง 9, เทียนทั้ง 5 และสมุนไพรอื่นๆ
ขนาด: 100 แคปซูล
เลขทะเบียนยาที่ G615/49
เชื่อมั่นสมุนไพรไทย ไว้ใจบ้านหมอละออง
ตำรับยาสมุนไพรไทยที่ผ่านการคิดค้นและรักษาดูแลผู้ป่วยหายแล้วมากกว่า 50,000 ราย
ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย ตรวจสอบได้
ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ
ของแท้ ออร์แกนิค ต้นตำรับ
ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ควบคู่กับนโยบายในการดำเนินงานที่ว่า “อยู่เย็นเป็นสุขด้วยธรรมชาติบำบัด”
ปลอดภัย ไร้สารสเตียรอยด์
ปลอดภัย ไม่มีสเตียรอยด์ ดูแลควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรแพทย์แผนไทย ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์จากกระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐานการผลิต ควบคุณภาพทุกขั้นตอน
มาตรฐานการผลิตมีคุณภาพ โรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ทำไมควรรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก-ธรรมชาติบำบัด? เพราะว่า การใช้สมุนไพรบำบัดทั้งเป็นยากิน และยาทาภายนอกนั้น เป็นวิถีทางที่ปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่าการใช้ยาเคมี เป็นการรักษาที่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมาก ไม่มีอันตรายสะสม และสามารถใช้ต่อเนื่องได้ในกรณีที่โรคยังไม่สงบ ดังนั้นปัจจุบัน การรักษาด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย จากสมุนไพรไทยนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีมาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในภาวะความเครียดเพราะไม่มีหนทางมากนักในการรักษา
ตำรับยาสมุนไพรบ้านหมอละออง ได้ผ่านการคิดค้นตำรับยามามากกว่า 30 ปี และรักษาผู้ป่วยมาจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ ทุกชนิด ผ่านการรับรองจาก อย. ให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าปลอดภัย และมีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ
รีวิว
เสียงจากผู้ใช้ เปิดใจจากผู้ใช้จริง
“เชื่อมั่นในสมุนไพรไทย เชื่อใจหมอละออง”
รวมรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้สมุนไพรไทยหมอละออง ทานยาบำรุงหัวใจ แก้ใจสั่น ด้วยเสียงตอบรับและภาพรีวิวมากมาย ทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพและบริการ
สินค้าแนะนำ
ส่งฟรี
จัดส่งฟรี ส่งด่วนไม่มีขั้นต่ำ
สินค้าชำรุด เสียหาย
สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ ภายใน 7 วัน
จัดส่งเร็ว
จัดส่งทันที หลังจากแจ้งชำระเงินแล้ว