ประโยชน์และสรรพคุณดอกคำฝอย
- ช่วยขับระดู
- บำรุงประสาท
- บำรุงหัวใจ
- บำรุงโลหิต
- แก้ตกเลือด
- แก้ดีพิการ
- ช่วยขับเหงื่อ
- ช่วยระงับประสาท
- แก้ไข้ในเด็ก
- แก้ดีซ่าน
- แก้ไขข้ออักเสบ
- แก้หวัด น้ำมูกไหล
- แก้โรคฮิสทีเรีย
- รักษาอาการบวม
- รักษาท้องเป็นเถาดาน
- เป็นยาระบาย
- รักษาอาการไข้หลังคลอด
- ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ
- บำรุงคนเป็นอัมพาต
- แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- สามารถปกป้องการทำลายส่วนต่างๆของร่างกายจากอนุมูลอิสระ
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบการไหลเวียนของเลือด
- รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดคั่ง เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก
- เพิ่มระดับคอลเลสเตอรรอลชนิดดี
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ประโยชน์ในด้านอื่นๆของดอกคำฝอย
- ตากแห้งสำหรับชงน้ำร้อนดื่มแทนชา หรือ ต้มผสมน้ำตาลเล็กน้อย ให้กลิ่นหอม
- ตากให้แห้ง และบด เพื่อสกัดเป็นสีย้อมผ้าที่ได้จากสีเหลืองของสารคาร์ทามีดีน (carthamidine)สีแดงสารคาร์ทามีน (carthamine) สามารถย้อมติดได้ดีในเส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยจากพืช
- ใช้ผสมอาหาร อาทิ ผสมเนยแข็ง และปรุงอาหาร เป็นต้น
- น้ำมันจากเมล็ดดอกคำฝอย และกลีบดอกสามารถนำมารับประทาน บำรุงเส้นผม บำรุงผิว เสริมสุขภาพ
- ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เลี้ยง
- ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม
- น้ำมันคำฝอยใช้เป็นวัตถุดิบผลิต Alkyd resins สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสี และกาวเหนียว
- ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า เป็นต้น
- ใช้เป็นน้ำมันเคลือบผิววัสดุให้มีความมันเงา ป้องกันสนิม เช่น งานไม้ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ในอินเดียใช้เคลือบรักษาคุณภาพหนังสัตว์ เสื้อผ้าผลิตภัณฑ์เครื่องทอป้องกันการเปียก
- กากของเมล็ด ใบ ลำต้นแห้ง ใช้หมักผสมกับมูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอกหรือทำเป็นปุ๋ยพืชสด
- ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย
ในประเทศจีนนิยมใช้น้ำมันจากเมล็ดหรือกลีบดอกคำฝอยสำหรับประกอบอาหาร เพราะสามารถให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง มากกว่า 90% และให้ชื่อน้ำมันคำฝอยว่า king of the linoleic acid เพราะประกอบด้วยกรดไขมันลิโนเลอิกมากถึง 80% ที่มีบทบาทสำคัญต่อการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง (arteriosclerosis) และลดคลอเรสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคำฝอย
ดอกคําฝอย เป็นยาบํารุงโลหิต บํารุงประสาท แก้โรคผิวหนัง ลดไขมันใน เส้นเลือด และ ช่วยป้องกันไขมันอุดตัน
น้ำมันของดอกคําฝอยมี ส่วนประกอบของกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวใน ประมาณสูง (ประมาณร้อยละ 75) จึงเชื่อว่าจะทําให้ประมาณโคเลสเตอรอล ในเลือดต่ำลง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า เมล็ด น้ำมันดอกคําฝอยช่วยทําให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกรดไลโนเลอิกจะไปทําปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอลในเลือด ได้เป็นโคเลสเตอรอลไลโนเลเอท (choloesterol linoleate) และยังมีรายงานว่า น้ำมันดอกคําฝอยทําให้ ฤทธิ์ของเอนไซม์ ที่ใช้ใน การสังเคราะห์กรดไขมันลดลงอีกด้วย จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคนพบว่า น้ำมันดอกคําฝอยจะช่วยให้ การอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง และช่วยป้องกันการอุดตันของ ไขมันในเลือดได้ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากน้ำมันดอกคําฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด
– Kim และคณะ ได้ศึกษาสารสกัดเมล็ดคำฝอยในประเทศเกาหลี (Carthamus tinctorious L.) ต่อการเสริมสร้างกระดูกในหนูทดลอง พบว่า ผลของการใช้สารสกัดจากดอกคำฝอยสามารถเสริมสร้างกระดูก ด้วยการกระตุ้นกระบวนการสร้าง และซ่อมแซมกระดูกในหนูทดลองได้– Moon และคณะ ได้ศึกษาการใช้สารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อปริมาณคอเลสเทอรอลในหนูทดลองพบว่า การให้สารสกัดเมล็ดคำฝอยที่สกัดด้วยน้ำ และเอธานอล ในช่วง 5 สัปดาห์ สามารถลดระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
– Rallidis และคณะ ได้ทดลองให้อาหารที่ผสม alpha linolenic acid (ALA, 18:3n-3) จากน้ำมันลินสีด (linseed oil) และ linoleic acid (LA, 18:2n-6) จากน้ำมันเมล็ดคำฝอยแก่ผู้ป่วย dyslipidaemic patients พบว่า อาหารที่ผสม ALA จากน้ำมันลินสีดสามารถลด C-reactive protein (CRP), interleukin-6 (IL-6) และ serum amyloid A (SAA) อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอาหารที่ผสม LA จากน้ำมันเมล็ดคำฝอยไม่มีผลต่อความเข้มข้น CRP, IL-6 และSAA แต่สามารถลดระดับคอเลสเทอรอลได้
– Koji และคณะ ได้ศึกษาผลของ conjugated linoleic acid (CLA) จากน้ำมันคำฝอยต่อเมทาบอลิซึม (metabolism) ในหนูทดลองด้วยอาหารที่มีน้ำมันคำฝอยร้อยละ 9 ผสมกับร้อยละ 1 ของ CLA เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) ในเลือด และตับของหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับ CLA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดย CLA ช่วยเพิ่มอัตราการใช้ออกซิเจน และการใช้พลังงาน ส่วนการทดลองที่ 2 ที่ให้อาหารร้อยละ 9 ของน้ำมันคำฝอยผสมกับร้อยละ 1 ของ 9c,11t-CLA-rich oil หรือ 10t,12c-CLA และอาหารร้อยละ 9 น้ำมันดอกคำฝอยผสมกับร้อยละ 1 ของ 10t,12c-CLA-rich oil พบว่า ปริมาณไตรเอซิลกลีเซอรอลในเลือด และตับของหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับ 10t,12c-CLA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ 9c,11t-CLA
– Nishizono และคณะ ได้ศึกษาการสะสม triacylglycerols ในลำไส้หนูทดลองด้วยการเก็บอุจจาระหนูทดลองก่อน และหลังการให้อาหาร AIN-76 ที่ผสมน้ำมันดอกคำฝอยร้อยละ 5 ที่เลี้ยงประมาณ 4 เป็นเวลา 1, 3, และ 6 เดือน พบว่า อัตราการดูดซึมไขมันของหนูทดลองดีขึ้นร้อยละ 95
– มีรายงานทางคลินิก พบว่า สารสกัดจากดอกคำฝอย มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูก และฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยทำให้มดลูก และกล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้ แต่ถ้าหากใช้ในปริมาณมากจนเกินไป อาจจะทำให้มดลูกเป็นตะคริวได้
– ค.ศ. 1976 ประเทศอเมริกา ได้ทำการทดลองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ชาย 122 คนและหญิง 19 คน) ด้วยการให้รับประทานน้ำมันดอกจากดอกคำฝอยทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ (วันละ 57 กรัม) ผลการทดลองพบว่า น้ำมันจากดอกคำฝอย สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตและระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ และยังมีผลการสร้าง Prostaglandin ที่เป็นผลให้ High Density Lipoprotein เพิ่มขึ้น
– ค.ศ. 1989 ประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองน้ำมันดอกคำฝอยในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิด Mild hypertension โดยให้รับประทานน้ำมันจากดอกฝอยทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ (วันละ 5.9 กรัม) ผลการทดลองพบว่า ค่าความดัน Systolic ลดลงมา 6.5 mm.Hg และค่าความดัน Diastolic ลดลงมา 4.4 mm. จึงสรุปได้ว่าน้ำมันดอกคำฝอยมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตได้จริง
– การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของผมของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกคำฝอยซึ่งอุดมไปด้วยสาร hydroxysafflor yellow A ในเซลล์ dermal papilla และ human keratinocytes (HaCaT) พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 0.005-1.25 มก./มล. จะกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ทั้งสองชนิดได้ 166.02 ± 4.89% และ 114.83 ± 6.83% ตามลำดับ สารสกัดที่ความเข้มข้น 0.25-1.00 มก./มล. มีฤทธิ์เพิ่มการแสดงออกของ vascular endothelial growth factor mRNA และ keratinocyte growth factor mRNA ซึ่งเกี่ยวข้องกับการงอกของผม และลดการแสดงออกของ transforming growth factor-β1 mRNA ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของผม สารสกัดดอกคำฝอย ความเข้มข้น 50-200 มคก./มล. ยังมีผลเพิ่มความยาวของเซลล์รากผม (hair follicles) ของหนูเม้าส์ได้เทียบเท่ากับยา minoxidil (50 มคก./มล.) และเมื่อทาสารสกัด ขนาด 0.05, 0.1 และ 0.5 มก./มล. ลงบนผิวหนังที่ถูกโกนขนของหนูเม้าส์ เป็นเวลา 15 วัน พบว่าความเข้มข้น 0.1 มก./มล. สารสกัดสามารถกระตุ้นการงอกของเส้นขนของหนูได้เทียบเท่ากับยา minoxidil ที่ความเข้มข้นเดียวกันและไม่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของเส้นขน สรุปว่าสารสกัดจากดอกคำฝอยมีศักยภาพในการที่จะนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นการงอกของผมได้
การศึกษาทางพิษวิทยาของดอกคำฝอย
จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากดอกคำฝอยพบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และไม่พบการก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
เอกสารอ้างอิง
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I. English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.
4. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด, 2547.
5. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ). ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.
6. ดอกคำฝอย.พืชเกษตร.คอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
7. Ekin , Z. (2005). Resurgence of safflower (Carthamus tinctorius L.) utilization: a global view. Journal of Agronomy , 4(2) , 83-87.
8. Yoon , H. R., Han , H. G., & Paik , Y.S. (2007). Flavonoid glycosides with antioxidant activity from the petals of Carthamus tinctorius. Carbon, 1(2), 3.
9. Asgarpanah, J., & Kazemivash, N. (2013). Phytochemistry , pharmacology and medicnal properties of Carthamus tinctorius L. Chinese journal of integrative medicine , 19(2), 153-159.
10. Yaginuma, S., & lgarashi, K. (1999). Protective effects of hot water extracts from rats. Food Science and Technology Research, 5(2), 164-167.
11. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, (2551).ดอกคำฝอย ในคู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน (เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, บรรณาธิการ) หน้า 101-103. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิม องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
12. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ.การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชียวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ).ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546
13. Emongor , V. (2010). Safflower (Cathamus tinctorius L.)the underutilized and neglected crop: A review. Asian J. Plant Sci, 9, 299-306.
14. วุฒิ วุฒิธรรมเวช . หนังสือร่วมอนุรักษ์มรดกไทย สารานุกรมสมุนไพรไทย
15. คำฝอย.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://thaicrudedruy.com/maim.php?action=viewpage&pid=42
16. คำฝอย กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด.สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบริมราชกุมารี.(ออนไลน์เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01_1.htm
17. สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Plc., 1999.
18. Tiengbooranatham, Vit Dictionary of Thai Medicinal Plants, 4th ed. Bangkok: Suriyabarn Publishing, 1996
19. ฤทธิ์ของสารสกัดดอกคำฝอย ในการกระตุ้นการงอกของผม. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล