โรคไต
ด้วยเหตุที่โรคไตมีหลายชนิด อาการของผู้ป่วยจึงมีความแตกต่างกันไป และโรคไตยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกตามลักษณะอาการและตำแหน่งที่มีปัญหา อย่างเช่น กรวยไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน เนื้อเยื่อไตอักเสบ และนิ่วในไต เป็นต้น
แต่ถ้าพูดถึงอาการโรคไต จะมีกลุ่มอาการ 2 ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการไตวายเรื้อรังนั้น ทางการแพทย์ถือว่าเป็นฆาตรกรเงียบเลยทีเดียว เนื่องจากโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกเริ่ม แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อตอนที่ไตเสียหายไปพอสมควรแล้ว
รู้จักอาการโรคไตที่พบบ่อย
เนื่องด้วยสาเหตุที่เป็นโรคไตมีหลายชนิด อาการโรคไตของผู้ป่วยแต่ละคน จึงมีลักษณะแตกต่างกัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงกลุ่มอาการ 2 ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคไตวายเฉียบพลัน คือ ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น เกิดภาวะช็อกจากการเสียน้ำหรือเลือดเป็นจำนวนมาก การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรือได้รับสารพิษหรือผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงตั้งแต่เริ่มแรกทั้งๆที่ไตยังไม่เสื่อม เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการบวม ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดโลหิตแดง และโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย และหากตรวจวัดความดันโลหิตจะพบว่ามีความดันโลหิตสูงผิดปกติ อาการผิดปกติเหล่านี้จะแสดงออกมาให้เห็นในระยะแรกๆ ตั้งแต่เริ่มเป็น ภาวะไตวายเฉียบพลันมีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากมาพบแพทย์และรักษาอย่างทันท่วงที เนื้อไตและการทำงานของไตก็อาจสามารถกลับฟื้นคืนเป็นปกติได้เช่นกัน
- โรคไตวายเรื้อรัง คือ เนื้อไตจะถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาแรมเดือน แรมปี เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน โรคไตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง โรคไตที่เกิดจากเกาท์ ฯลฯ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็นเลยโดยผู้ป่วยจะมีความเป็นอยู่ ดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติทุกอย่างเป็นเวลาหลายๆ ปีระหว่างนี้ถ้าผู้ป่วยมาตรวจร่างกาย แพทย์ก็อาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นถ้าตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย จนในที่สุดการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือหนึ่งในสี่ของปกติ จะเริ่มมีอาการโรคไตแสดงออกมาให้เห็นบ้าง และถ้าการทำงานของไตเสื่อมลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาชัดเจนทุกราย
- สภาพทั่วๆไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย หรือผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจจะซูบผอมเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง ในทางตรงกันข้ามโรคไตบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยตัวบวม ขาบวมร่วมกับมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
- ระบบผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังซีด แห้งคัน มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย ผิวหนังแตกแห้ง เป็นแผลแล้ว
หายช้า หรือผู้ป่วยบางรายจะมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ - ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ สะอึก ปวดท้อง ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เป็นแผลในกระเพาะและลำไส้
- ระบบหัวใจและการหายใจ ถ้าไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทำให้หัวใจทำงานไม่ไหว และมีอาการเหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเกิดภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำคั่งในปอด ปอดบวม ทำให้หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด
- ด้านระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา ปวดหลังบริเวณบั้นเอว กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ขาดสมาธิ สมองเสื่อม ไม่สามารถคิดและจดจำได้เหมือนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในที่สุดอาจมีอาการชัก หมดสติ หรือเสียใจชีวิตได้
- ระบบกระดูก เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการสังเคราะห์วิตามินดี มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดภาวะกระดูกพรุน แตกหักง่าย ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตวายจะหยุดเจริญเติบโตและแคระแกร็น
- ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะเริ่มแรก ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง จนที่สุดเมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงหรือไตวาย ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อยมาก
- ระบบโลหิต ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง เข้าภาวะโรคไตวายระยะสุดท้าย จะผลิตฮอร์โมนไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้โลหิตจาง ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง จะมีอาการซีด และมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกง่าย เลือดไหลไม่หยุด และมีจ้ำเลือดขึ้นตามตัวได้ง่าย
- ระบบภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่าย
- ระบบฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายผู้ป่วยโรคไตวาย มักจะมีการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนเกือบทุกชนิด ทั้งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากต่อมไธรอยด์ จากต่อมพาราไธรอยด์ จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ หรือฮอร์โมนจากลูกอัณฑะในเพศชาย ทำให้เป็นหมันและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
เมื่อเราสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว เกิดความกังวลใจว่าอาการเหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคไตหรือไม่นั้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ตรวจปัสสาวะ ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปัสสาวะจะมีโปรตีนและเม็ดเลือดแดงปนมากับปัสสาวะ
ตรวจเลือด ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปริมาณไนโตรเจน กรดยูริก (Blood Nitrogen Urea, BUN) และ ครีเอตินิน (Creatinine, Cr) ที่เป็นของเสียจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูงกว่าปกติ และนำผลเลือดที่ได้นี้มาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ในลำดับต่อไป
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ถ้ามีความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนร่วมกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
โรคไตในแต่ละประเภทนั้น อาการของผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามโรคไตในแต่ละประเภท โดยอาการโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างจะซ่อนเร้น ค่อยๆ กำเริบมากขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีอาการ บางครั้งแฝงมากับโรคอื่นอย่างลับๆ บางครั้งตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือด จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไต เมื่อมีอาการก็มักจะมาพบแพทย์ซึ่งสายเกินไปเสียแล้วเพราะไตของผู้ป่วยเสียมากจนเกินความสามารถที่แพทย์จะรักษาให้หายเป็นปกติได้
ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงลักษณะอาการของโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ หมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง
หลายคนคงสงสัย เมื่อตอนได้ใบตรวจเลือด เขาต้องดูค่าไต อย่างไร เขาดูกันตรงไหน ? หลายคนคงสงสัย ว่าจะรู้ได้ยังไง ว่าตอนนี้ เราเสี่ยงไตเสื่อม หรือไม่ ? หลายคนคงสงสัย ว่าถ้ารู้ตัวว่า ไตเสื่อม แล้ว เราไตเสื่อม อยู่ระยะไหน ? และ ไตเสื่อม มีกี่ระยะ?
เมื่อพูดถึงค่าไต ใครหลายคน อาจจะดูเพียงแค่ค่าครีอะตินิน (Creatinine) กับ ค่าบัน (BUN) เท่านั้น
แต่จริง ๆ แล้ว การวินิจฉัยของแพทย์ จะดูกันที่ค่า GFR (Glomerular filtration rate) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงอัตราการกรองของเสียของไต เพื่อเป็นการแบ่งระยะของ ไตเสื่อม ของเราค่ะ
ถ้าเปรียบเทียบหน้าที่ของไต เพื่อให้เห็นภาพ เข้าใจได้ง่าย ๆ ไต เราก็เหมือนกับเครื่องกรองน้ำ ซึ่งทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านให้สะอาด แล้วปล่อยออกมาให้เราดื่ม ส่วนไตก็ทำหน้าที่กรองเลือด กรองของเสีย ออกจากร่างกาย ออกมาเป็นปัสสาวะ และทำการดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์กลับเข้ามาใช้ในร่างกายค่ะ
สำหรับคนที่ตรวจเลือด แล้วค่า GFR ต่ำ หรือไตเสื่อม ก็แปลว่า แผ่นกรองเริ่มจะทำงานหนักแล้ว กว่าจะกรองได้ใช้เวลานานมาก และกรองได้ปริมาณน้อย ไม่เยอะเหมือนแต่ก่อน เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ไตวาย เป็นสภาวะที่ไตกรองของเสีย เองไม่ได้แล้วนั่นเอง
เมื่อหมอบอกว่า ไตเสื่อม เราควรทำตัวอย่างไร
ค่า GFR สำคัญแค่ไหน ?
ไตเสื่อม ถ้าเพิ่งเริ่มเป็น ไม่ได้เป็นหนักมาก ก็จะไม่แสดงอาการออกมา หมอก็ไม่ค่อยบอก จึงทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมไม่ค่อยรู้ตัว ว่าตอนนี้ ไตของเราเสื่อม หรือไม่ ส่วนใหญ่ที่ตรวจเจอ ก็มักจะรู้ตัวว่าเป็น ไตเสื่อมระยะที่ 3, 4, 5 กันแล้ว เพราะเริ่ม มีอาการออกชัด ซึ่งบางคน ถึงกับทำใจลำบาก
อย่างบางคนที่ตรวจดูค่าไต รู้ว่าเป็น ไตเสื่อม ระยะที่ 5 ต้องเตรียมฟอกไต โดยด่วน…เจอแบบนี้เป็นใครก็ช็อค ทำใจไม่ได้
ไม่ว่าตอนนี้คุณจะอายุเท่าไหร่ แนะนำให้ไปตรวจค่าไต ดูนะคะ เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าไตเรายังดีอยู่ไหม?
ถ้าไต เริ่มเสื่อม ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ต้องดูแลเพิ่มขึ้นหรือเปล่า โดยเฉพาะคนที่อายุ 50-60 ปี ควรตรวจดูค่าไตอย่างยิ่งเลยค่ะ !!
ปกติเมื่คนเรา อายุ 30ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี
แต่….การที่ไตเสื่อม อย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงาน ทันที เราเรียกว่า “ไตวายเฉียบพลัน”
ซึ่งอาจจะกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการดูแลที่เหมาะสม
แต่….ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไต เกิดความผิดปกติ อย่างถาวร เรียกว่า “ไตเสื่อมเรื้อรัง“
ถ้าเราตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีเวลา ดูแลไต ไม่ให้เสื่อม หรือ เสื่อมช้าลง ได้นานขึ้น และ ถ้าพบว่าไตเสื่อม เราก็มีโอากาส ฟื้นฟูไต ให้กลับมาดี กลับมาทำงานได้ เป็นปกติ มากขึ้น และ ก็ไม่ต้องฟอกไตเสมอไป เพราะยิ่งเจอเร็ว ปรับตัวได้เร็ว ก็มีโอกาสในการดูแล ฟื้นฟู ได้ดีกว่านั่นเอง
ระยะของ ไตเสื่อมเรื้อรัง จะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ
- ระยะที่ 1 ค่า GFR มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เป็นค่าปกติ
- ระยะที่ 2 => มีค่า GFR อยู่ที่ 60-89%
- ระยะที่ 3 => มีค่า GFR อยู่ที่ 30-59%
- ระยะที่ 4 => มีค่า GFR อยู่ที่ 15-29%
- ระยะที่ 5 => มีค่า GFR ต่ำกว่า 15%
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 5 : ต้องดูแล เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะอื่นๆ แทรกซ้อน และ ดูแลชีวิตให้อยู่ได้ยืนยาว ค่ะ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตราบ้านหมอละออง
สำหรับดูแลผู้เป็นโรคไต เบาหวาน ปัสสาวะบ่อย ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงขึ้นจากสูตรสมุนไพรเฉพาะของบ้านหมอละออง มีสมุนไพรใช้สำหรับรับประทาน อุดมไปด้วยสรรพคุณจากสมุนไพร อาทิ พลูคาว, หน่ออ้อ, หญ้าดอกขาว, รากถั่วแระผี, เหง้าสับปะรด, หญ้างวงช้าง, หญ้าหนวดแมว, หญ้าใต้ใบ และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อดูแลบำบัดอาการของคุณ ที่มีปัญหา ใช้ต่อเนื่องได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ
สรรพคุณ: สำหรับดูแลผู้มีปัญหาโรคไต ผู้ที่ต้องล้างไต-ฟอกไต และทำความสะอาดล้างพิษไต บำรุงกระตุ้นเตือนไตให้ทำงานเป็นปกติ ขับล้างสิ่งสกปรก ที่ตกค้างในไต ป้องกันโรคไตและบำรุงไต ให้แข็งแรง จะได้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา อีกทั้งแก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือดได้ผลเป็นอย่างดี
วิธีใช้: ทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (ก่อนอาหารเช้า-เย็น) แนะนำให้ทานจนครบ 1-3 เดือน และรับประทานทุกๆ 6 เดือน
สมุนไพร: พลูคาว, หน่ออ้อ, หญ้าดอกขาว, รากถั่วแระผี, เหง้าสับปะรด, หญ้างวงช้าง, หญ้าหนวดแมว, หญ้าใต้ใบ และสมุนไพรอื่นๆ
ขนาด: 100 แคปซูล
เลขทะเบียนยาที่ G 434/49
เชื่อมั่นสมุนไพรไทย ไว้ใจบ้านหมอละออง
ตำรับยาสมุนไพรไทยที่ผ่านการคิดค้นและรักษาดูแลผู้ป่วยหายแล้วมากกว่า 50,000 ราย
ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย ตรวจสอบได้
ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ
ของแท้ ออร์แกนิค ต้นตำรับ
ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ควบคู่กับนโยบายในการดำเนินงานที่ว่า “อยู่เย็นเป็นสุขด้วยธรรมชาติบำบัด”
ปลอดภัย ไร้สารสเตียรอยด์
ปลอดภัย ไม่มีสเตียรอยด์ ดูแลควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรแพทย์แผนไทย ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์จากกระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐานการผลิต ควบคุณภาพทุกขั้นตอน
มาตรฐานการผลิตมีคุณภาพ โรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ทำไมควรรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก-ธรรมชาติบำบัด? เพราะว่า การใช้สมุนไพรบำบัดทั้งเป็นยากิน และยาทาภายนอกนั้น เป็นวิถีทางที่ปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่าการใช้ยาเคมี เป็นการรักษาที่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมาก ไม่มีอันตรายสะสม และสามารถใช้ต่อเนื่องได้ในกรณีที่โรคยังไม่สงบ ดังนั้นปัจจุบัน การรักษาด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย จากสมุนไพรไทยนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีมาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในภาวะความเครียดเพราะไม่มีหนทางมากนักในการรักษา
ตำรับยาสมุนไพรบ้านหมอละออง ได้ผ่านการคิดค้นตำรับยามามากกว่า 30 ปี และรักษาผู้ป่วยมาจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ ทุกชนิด ผ่านการรับรองจาก อย. ให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าปลอดภัย และมีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ
รีวิว
เสียงจากผู้ใช้ เปิดใจจากผู้ใช้จริง
“เชื่อมั่นในสมุนไพรไทย เชื่อใจหมอละออง”
รวมรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้สมุนไพรไทยหมอละออง ที่ใช้ยาขับปัสสสาวะ บำรุงไต ด้วยเสียงตอบรับและภาพรีวิวมากมาย ทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพและบริการ
สินค้าแนะนำ
ส่งฟรี
จัดส่งฟรี ส่งด่วนไม่มีขั้นต่ำ
สินค้าชำรุด เสียหาย
สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ ภายใน 7 วัน
จัดส่งเร็ว
จัดส่งทันที หลังจากแจ้งชำระเงินแล้ว